วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคแพนิก

โดย DMH Staff กรมสุขภาพจิต


โรคแพนิคเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียก โรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆแล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะท้องไส้ปั่นป่วนขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วยโดยที่ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตายกลัวเป็นโรคหัวใจบางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือ เป็นบ้าอาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลียและในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก



ซึ่งโรคนี้ นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ จาก http://www.ramamental.com ให้ความความกระจ่างว่า
อาการแพนิคจะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยากแต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุและเชื่อมโยงหาเหตุ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการเพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยงและรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่นผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถทำให้ไม่กล้าขับรถบางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้า ขึ้นสะพานลอยผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียวหรือไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการ ขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วยในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้เช่นการออกกำลังหนักๆหรือ เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้
ขณะเกิดอาการผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาลซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมาผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกันผู้ป่วยหลายๆ ราย ไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพโดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดและ ไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้ จนเป็นที่มาของการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินเป็นประจำ และใช้หมอเปลืองมาก (บางราย อาจจะมากกว่า 10 ด้วยซ้ำไป) อยู่ในภาวะที่เรียกว่าdoctor shopping ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเรียกว่าอาการแพนิคซึ่งแปลว่าตื่นตระหนกเราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่างๆจะคล้ายกับ อาการของคนที่กำลังตื่นตระหนกในโรคแพนิคผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุกระตุ้นและ เกิดแล้วเกิดอีกซ้ำๆการไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้นอาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานานบางคนเป็นมาหลายปีเกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้งแต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักทีบางคน เป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล"แทบไม่ทัน"ทุกครั้งแต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป"ทัน"ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย
สาเหตุ
สาเหตุของโรคจริงๆนี้นไม่ทราบ แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. ทางด้านร่างกาย 
1.1 ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าสาเหตุของโรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุม "ความกลัว (fear)" ซึ่งก็คือบริเวณโครงสร้างลึกๆในสมองที่เรียกว่า "อะมิกดาลา (Amygdala)" ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนที่เล็กมาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มีปฏิกิริยามากมายต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองสรุปไว้ว่า ภาวะความผิดปกติทางด้านวิตกกังวลทั้งหลายมีความสัมพันธ์กันกับอะมิกดาลาในสมองที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะความกลัว ความจำ (เจ็ดชั่วโคตร) ความวิตกกังวลมากมายที่ส่งผลต่อพฤติกรรม จึงทำให้มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมากมายเพื่อพัฒนาหาแนวทางในการรักษาให้เหมาะสม
ดังนั้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นจากภายนอกหรือภายในก็ตามที ทำให้มีผลเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดเป็นอย่างมาก ภาวะวิตกกังวลนี้ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจให้ตกอยู่ในภาวะการณ์ที่เรียกว่า "สู้หรือถอย (fight or flight) 
1.2 ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน ความเจ็บป่วยโรคทางกาย สารเสพติด และ กรรมพันธ์
2. สาเหตุทางจิตใจ เช่น การเผชิญความวิตกกังวลในชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง (severe stress) เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ถูกข่มขืน หย่าร้าง อกหัก ตกงาน หรือมีประวัติได้รับความกระทบเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
โรคแพนิกเป็นภาวะะวิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่ง ศ. นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ ได้กล่าวไว้ใน คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชว่า เป็นภาวะวิตกกังวลที่ผู้ป่วยจะจำได้แม่นยำถึงอาการ ความรุนแรงของอาการ สถานที่เกิดอาการ จนทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดหรือพยายามเลิกกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เช่น หากเป็นขณะขับรถ ก็จอดรถ หรือหากเป็นขณะซื้อของในห้างก็จะรีบออกจากห้าง เช่นนี้เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะเจาะจงของโรคแพนิก
1. อาการของโรคแพนิก ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผู่ป่วยมีความกลัว หรือรูสึกไม่สบายอย่างรุนแรง โดยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อาการ เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและรุนแรงที่สุดภายในเวลา 10 นาที
ใจสั่น 
หัวใจเต้นแรง
เหงื่อแตก ตัวสั่น
เวียนศรีษะ หรือเป็นลม
เจ็บหรือแน่นหน้าอก 
หนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบ
ชาหรือรู้สึกเป็นเหน็บ
หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ
คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
กลัว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้
กลัวว่าตนเองจะตาย
2. อาการของแพนิก เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ
3. ผู้ปวยมีความกังวลว่าตัวเองจะเกิดอาการแบบนี้ขึ้นมาอีกหรือไม่สบายใจเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการมีแพนิก หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมากที่สัมพันธ์กับการเกิดแพนิก
4. ความกังวลหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นนานอย่างน้อย 1 เดือน
การรักษา
ด้วยว่าโรคแพนิกนั้น จัดว่าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ (real illness) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีสื่อประสาทในสมอง ดังนั้น การรักษาที่จะได้ผลดี ประกอบไปด้วย
1. การรักษาด้วยยา
1.1 ยาแก้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็วใช้เมื่อเกิดอาการขึ้นมาเป็นทีกินทีกินแล้วหายเร็วได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกัน ในนามของยา"กล่อมประสาท"หรือยา"คลายกังวล"ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูงแต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆจะเกิดการติดยาและเลิกยาก
1.2 ยาป้องกันเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลเมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลยยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัวยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหายในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายยาทั้ง 2 กลุ่มในช่วงแรกๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆหยุดยา ผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีกแต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลงในกรณี แบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆ
2. การรักษาทางใจ ที่สำคัญและได้ผลมากคือ การให้ความรู้ Psychoeducation และการทำพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavior Therapy) เพื่อการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยต่อโรคแพนิกและอาการของแพนิค การฝึกการหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ การฝึกการจินตนาการ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก เหล่านี้เป็นต้น

*******************************************

เอกสารอ้างอิง: 
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับแพทย์ (ปรับปรุง 2544): กรงเทพ: เรดิชั่นจำกัด. กุมภาพันธ์ 2544.
http://www.helpguide.org/mental
http://www.nimh.nih.gov/publicat/panicfacts.cfm
http://www.psych.org/

http://www.ramamental.com
โรคแพนิก

โดย DMH Staff กรมสุขภาพจิต


โรคแพนิคเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียก โรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆแล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะท้องไส้ปั่นป่วนขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วยโดยที่ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตายกลัวเป็นโรคหัวใจบางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือ เป็นบ้าอาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลียและในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก



ซึ่งโรคนี้ นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ จาก http://www.ramamental.com ให้ความความกระจ่างว่า
อาการแพนิคจะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยากแต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุและเชื่อมโยงหาเหตุ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการเพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยงและรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่นผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถทำให้ไม่กล้าขับรถบางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้า ขึ้นสะพานลอยผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียวหรือไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการ ขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วยในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้เช่นการออกกำลังหนักๆหรือ เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้
ขณะเกิดอาการผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาลซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมาผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกันผู้ป่วยหลายๆ ราย ไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพโดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดและ ไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้ จนเป็นที่มาของการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินเป็นประจำ และใช้หมอเปลืองมาก (บางราย อาจจะมากกว่า 10 ด้วยซ้ำไป) อยู่ในภาวะที่เรียกว่าdoctor shopping ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเรียกว่าอาการแพนิคซึ่งแปลว่าตื่นตระหนกเราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่างๆจะคล้ายกับ อาการของคนที่กำลังตื่นตระหนกในโรคแพนิคผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุกระตุ้นและ เกิดแล้วเกิดอีกซ้ำๆการไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้นอาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานานบางคนเป็นมาหลายปีเกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้งแต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักทีบางคน เป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล"แทบไม่ทัน"ทุกครั้งแต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป"ทัน"ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย
สาเหตุ
สาเหตุของโรคจริงๆนี้นไม่ทราบ แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. ทางด้านร่างกาย 
1.1 ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าสาเหตุของโรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุม "ความกลัว (fear)" ซึ่งก็คือบริเวณโครงสร้างลึกๆในสมองที่เรียกว่า "อะมิกดาลา (Amygdala)" ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนที่เล็กมาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มีปฏิกิริยามากมายต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองสรุปไว้ว่า ภาวะความผิดปกติทางด้านวิตกกังวลทั้งหลายมีความสัมพันธ์กันกับอะมิกดาลาในสมองที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะความกลัว ความจำ (เจ็ดชั่วโคตร) ความวิตกกังวลมากมายที่ส่งผลต่อพฤติกรรม จึงทำให้มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมากมายเพื่อพัฒนาหาแนวทางในการรักษาให้เหมาะสม
ดังนั้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นจากภายนอกหรือภายในก็ตามที ทำให้มีผลเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดเป็นอย่างมาก ภาวะวิตกกังวลนี้ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจให้ตกอยู่ในภาวะการณ์ที่เรียกว่า "สู้หรือถอย (fight or flight) 
1.2 ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน ความเจ็บป่วยโรคทางกาย สารเสพติด และ กรรมพันธ์
2. สาเหตุทางจิตใจ เช่น การเผชิญความวิตกกังวลในชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง (severe stress) เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ถูกข่มขืน หย่าร้าง อกหัก ตกงาน หรือมีประวัติได้รับความกระทบเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
โรคแพนิกเป็นภาวะะวิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่ง ศ. นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ ได้กล่าวไว้ใน คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชว่า เป็นภาวะวิตกกังวลที่ผู้ป่วยจะจำได้แม่นยำถึงอาการ ความรุนแรงของอาการ สถานที่เกิดอาการ จนทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดหรือพยายามเลิกกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เช่น หากเป็นขณะขับรถ ก็จอดรถ หรือหากเป็นขณะซื้อของในห้างก็จะรีบออกจากห้าง เช่นนี้เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะเจาะจงของโรคแพนิก
1. อาการของโรคแพนิก ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผู่ป่วยมีความกลัว หรือรูสึกไม่สบายอย่างรุนแรง โดยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อาการ เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและรุนแรงที่สุดภายในเวลา 10 นาที
ใจสั่น 
หัวใจเต้นแรง
เหงื่อแตก ตัวสั่น
เวียนศรีษะ หรือเป็นลม
เจ็บหรือแน่นหน้าอก 
หนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบ
ชาหรือรู้สึกเป็นเหน็บ
หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ
คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
กลัว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้
กลัวว่าตนเองจะตาย
2. อาการของแพนิก เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ
3. ผู้ปวยมีความกังวลว่าตัวเองจะเกิดอาการแบบนี้ขึ้นมาอีกหรือไม่สบายใจเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการมีแพนิก หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมากที่สัมพันธ์กับการเกิดแพนิก
4. ความกังวลหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นนานอย่างน้อย 1 เดือน
การรักษา
ด้วยว่าโรคแพนิกนั้น จัดว่าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ (real illness) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีสื่อประสาทในสมอง ดังนั้น การรักษาที่จะได้ผลดี ประกอบไปด้วย
1. การรักษาด้วยยา
1.1 ยาแก้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็วใช้เมื่อเกิดอาการขึ้นมาเป็นทีกินทีกินแล้วหายเร็วได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกัน ในนามของยา"กล่อมประสาท"หรือยา"คลายกังวล"ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูงแต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆจะเกิดการติดยาและเลิกยาก
1.2 ยาป้องกันเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลเมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลยยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัวยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหายในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายยาทั้ง 2 กลุ่มในช่วงแรกๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆหยุดยา ผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีกแต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลงในกรณี แบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆ
2. การรักษาทางใจ ที่สำคัญและได้ผลมากคือ การให้ความรู้ Psychoeducation และการทำพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavior Therapy) เพื่อการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยต่อโรคแพนิกและอาการของแพนิค การฝึกการหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ การฝึกการจินตนาการ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก เหล่านี้เป็นต้น

*******************************************

เอกสารอ้างอิง: 
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับแพทย์ (ปรับปรุง 2544): กรงเทพ: เรดิชั่นจำกัด. กุมภาพันธ์ 2544.
http://www.helpguide.org/mental
http://www.nimh.nih.gov/publicat/panicfacts.cfm
http://www.psych.org/

http://www.ramamental.com