วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ลงพื้นตรวจตลาดนัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี


วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เวลา 17.30 น.นางวาสนา ผิวเหลือง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรีมอบหมายให้นายกิตติพงษ์ เกษมสุข นักวิชาการสาธารณสุข และคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำตลาดนัดและร้านขายของชำ บ้านนาพัง หมู่5 ตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ให้คำแนะนำการจัดพื้นที่วางแผงห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร ผู้ซื้อและผู้ขายต้องสวมหน้ากากอนามัย จัดให้มีทางเข้าออกตลาดอย่างชัดเจน และขอความร่วมมือประชาชนปฏิบัติตัวเพื่อป้องการการแพร่ระบาดของโรคCOVID-19 อย่างต่อเนื่อง "อยู่แต่ในบ้าน อย่าออกไปไหน ล้างมือทั้งวัน กินร้อนช้อนฉัน ห่างกัน 2 เมตร"

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

สถานการ COVID-19 ประเทศไทย

ข้อมูลอัพเดทเพิ่มเติมคลิก ที่นี่

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ควบคุมโรคไข้เลือดออกหมู่ 9 บ้านโนนดู่ ต.จอมศรี อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี


วันที่ 1 เมษายน 2563 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรี อสม ผู้นำชุมชน ลงพื้นที่ควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ บ้านโนนดู่หมู่ 9 ตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี โดยการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้านเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน มีการใช้มาตรการควบคุมโรคตามหลัก 5ป.1ข. และ 3 เก็บ 3 โรค  เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก 

โรคไข้เลือดออก


ไข้เลือดออก (Dengue Fever)
ลักษณะโรค
  • โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น
สาเหตุ
  • เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งเป็น single - strand RNA จัดอยู่ใน genus Flavivirus และ family Flaviviridae มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 ทั้ง 4 serotypes มี antigen ร่วมบางชนิด จึงทำให้มี cross reaction และ cross protection ได้ในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิดนั้นตลอดไป (long lasting homotypic immunity) และจะมีภูมิคุ้มกัน cross protection ต่อชนิดอื่น (heterotypic immunity) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุมอาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้
วิธีการติดต่อ
  • โรคไข้เลือดออกเดงกีติดต่อกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นแมลงนำโรคที่สำคัญ และในชนบทบางพื้นที่ จะมียุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นแมลงนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย พร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นป่วยได้
ระยะฟักตัว
  • ระยะเพิ่มจำนวนของไวรัสเดงกี ในยุง ประมาณ 8-10 วัน
  • ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกี ในคน ประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน
ระยะติดต่อ
  • โรคไข้เลือดออกเดงกีไม่ติดต่อจากคนสู่คน ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรค การติดต่อจึงต้องใช้เวลาในผู้ป่วยและในยุง ระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 จะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก ระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อจากคนสู่ยุง และระยะเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในยุงจนมากพออีกประมาณ 8-10 วัน จึงจะเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คน