วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อย่าปล่อยให้ ‘ท้องผูก’

สาว ๆ พึงระวัง อย่าปล่อยให้ "ท้องผูก" เพราะไม่เพียงแต่สร้างความอึดอัดไม่สบายตัวเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้สุขภาพเสื่อมโทรม และเป็นต้นเหตุของโรคริดสีดวงทวารอีกด้วย และเคยสงสัยหรือไม่ว่า ในวันหนึ่ง ๆ เรารับประทานอาหารเข้าไปมากมาย อาหารเหล่านี้ไปสะสมอยู่ไหน
ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ ประธานฝ่ายวิชาการ ชมรมโภชวิทยามหิดล ระบุว่า ปกติคนเราควรจะขับถ่ายอุจจาระทุกวัน เพื่อเอากากอาหารและของเสียออกไป ไม่ให้คั่งค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน จะทำให้รู้สึกสบาย แต่หากระบบขับถ่ายอุจจาระเรามีปัญหา บางคนหลายวันแล้วยังไม่ถ่ายก็มักมีอาการท้องอืด หรือ แน่นท้องและเกิดภาวะท้องผูก ซึ่งจะทำให้มีกากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันนั้น ค้างสะสมอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน ร่างกายก็จะดูดซึมน้ำจากกากอาหารมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำในอุจจาระเหลือน้อย แข็งและถ่ายลำบาก
"การที่ร่างกายเราต้องหมักหมมเอาสารพิษและของเสียไว้ในลำไส้นาน ๆ นอกจากจะส่งผลทางด้านจิตใจ ทำให้สาว ๆ ขาดความมั่นใจ อึดอัดไม่สบายตัวไม่สบายท้อง กลายเป็นคนหงุดหงิด โมโหง่าย และมีกลิ่นปากแล้ว หากปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรังอาจนำไปสู่โรคริดสีดวงทวารหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ดังนั้นในรายที่มีอาการท้องผูกรุนแรง เช่น ถ่ายเป็นเลือด ท้องผูกสลับกับท้องร่วง หรือมีไข้และอาเจียนร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์"
เตือนสาวๆ ท้องผูกอันตราย thaihealth
ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ กล่าวและเสริมว่า ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารหรือไฟเบอร์น้อย เพราะจะทำให้แรงกระตุ้นที่ทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวน้อยลง จึงเกิดอุจจาระคั่งค้างในลำไส้ใหญ่
นอกจากนี้ในผู้ที่รับประทานอาหารจำพวกแป้งและไขมันมากเกินไป รวมทั้งการดื่มน้ำน้อย มีภาวะเครียด ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้เช่นกัน และบางรายอาจท้องผูกจากการดื่มนม หรือรับประทานแคลเซียมในปริมาณมาก รวมถึงผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการหย่อนสมรรถภาพของกล้ามเนื้อหูรูดต่าง ๆ ทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะขับถ่ายถดถอย
ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องผูก เราควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 7-8 แก้ว รับประทานผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูง เช่น คะน้า มะละกอ ส้ม พรุน และผลไม้ที่กินได้ทั้งเปลือก ควรกินผักผลไม้ให้ได้ 4-5 ส่วนต่อวัน ประมาณ 5 ทัพพี หรือดื่มน้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น น้ำมะขาม หรือน้ำพรุนสกัดเข้มข้น ก็สามารช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้นได้
เตือนสาวๆ ท้องผูกอันตราย thaihealth
โดยเฉพาะพรุนนั้นเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์มากเป็นพิเศษและจัดว่าเป็นอาหารฟังก์ชั่นที่ให้วิตามิน เกลือแร่และอุดมด้วยใยอาหารทั้งชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำค่อนข้างสูง ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารและมีฤทธิ์ในการระบาย รวมทั้งช่วยบำบัดอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี
"ทั้งนี้ เราควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีใยอาหารน้อย เช่น เนื้อวัว ไอศกรีม ชีส หรือเนยแข็ง และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และฝึกหัดนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลาทุกวัน เข้าห้องน้ำทันทีเมื่อรู้สึกปวดถ่าย ไม่ควรรอหรือทนอั้นไว้เพราะยิ่งรอไว้นาน ยิ่งเพิ่มอาการท้องผูก และพยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียดอยู่กับปัญหา หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย" คุณหมอให้คำแนะนำปิดท้าย


ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บริโภคไข่ตามสูตรแต่ละวัยได้ประโยชน์สูงสุด

บริโภคไข่ตามสูตรแต่ละวัยได้ประโยชน์สูงสุด thaihealth
"ไข่" เป็นอาหารที่เราทุกคนรับประทานแทบทุกวัน จนถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นต้ม ทอด ตุ๋น แต่ทราบหรือไม่ว่าการรับประทานไข่ให้เหมาะสมตามสูตรของแต่ละวัยจะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างสูงสุดทีเดียวค่ะ วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีจึงมีสูตรการรับประทานไข่ที่ถูกต้องตามวัยมาฝากกันค่ะ
โดย นสพ.กิตติ ทรัพย์ชูกุลประธานคณะทำงานจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์เพิ่มการบริโภคไข่ไก่ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ ให้ความรู้ว่า การรับประทานไข่มีประโยชน์มากมายหลายประการ เพราะไข่เป็นอาหารชนิดเดียวที่มีสารอาหารครบถ้วนเกือบทุกชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย ยกตัวอย่างสารอาหารที่สำคัญ ได้แก่ โคลีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมลูกนอกเหนือจากการช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำ และจากงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าโคลีนเป็นสารอาหารที่ช่วยชะลอความแก่ ส่วน ลูทีนและซีแซนทิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในไข่แดง ช่วยชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม
หากเรารับประทานไข่ไก่ตามสูตรเจ็ดยกกำลังสามและบวกหนึ่ง ของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไข่ไก่และผลิตภัณฑ์จะสามารถช่วยให้ร่างกายของเราได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งเจ็ดยกกำลังสาม หมายถึงเด็ก วัยรุ่น และวัยทำงาน สามารถบริโภคไข่ไก่ได้ 7 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนสามบวกหนึ่ง คือวัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี สามารถบริโภคไข่ไก่ได้ 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ขณะที่ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ควรบริโภคไข่ไก่ 1 ฟองต่อสัปดาห์ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ สำหรับเด็กเล็กควรเริ่มให้รับประทานไข่แดงต้มสุกผสมข้าวบดในปริมาณน้อย ๆ ตั้งแต่อายุ 6 เดือนและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็น 1 ฟอง เมื่อเด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไป
นอกจากการรับประทานไข่ตามสูตรจะได้ประโยชน์สูงสุดแล้ว การบริโภคไข่อย่างชาญฉลาดก็ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่หลากหลาย และเพียงพอต่อความต้องการไม่ก่อให้เกิดโรคทางโภชนาการได้ คือต้องเลือกทานให้ปลอดภัยด้วย เช่น การรับประทานไข่สุก เพราะร่างกายย่อยไข่ไม่สุกได้ยาก และไข่ที่ไม่สุกจะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และไข่ขาวดิบจะขัดขวางการดูดซึมวิตามินไบโอติน ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์กับกระบวนการเผาผลาญพลังงาน และทำให้ร่างกายรับประโยชน์จากสารอาหารที่ทานเข้าไปได้ไม่เต็มที่
ที่สำคัญเมนูอาหารที่ทำจากไข่มีให้เลือกมากมาย หากใครที่ต้องการหลีกเลี่ยงไขมัน ควรเลือกบริโภคไข่ต้มหรือไข่ตุ๋น เพราะการนำไข่มาทอดเป็นไข่ดาว หรือไข่เจียวจะมีไขมันเพิ่มขึ้นมากพอสมควร ถ้าเราต้องการเป็นผู้ที่บริโภคที่ฉลาดควรรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพหลากหลายชนิด เหมาะสมกับเพศและวัย มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่เครียด แค่นี้ร่างกายก็แข็งแรงมีสุขภาพดีแล้วค่ะ


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

`ต้อหินจากเบาหวาน`

ผู้ที่เป็นเบาหวานทราบหรือไม่ว่า จะเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว และถ้าไม่ได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์ อาจมีโอกาสตาบอดถาวรได้
\'ต้อหินจากเบาหวาน\' thaihealth
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน และไม่เคยรับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ อาจเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้ เนื่องจากเบาหวานทำให้เส้นเลือดที่จอตาผิดปกติทีละน้อยๆ จนจอตาบวม มีเลือดออกที่จอตา หรือวุ้นตา ส่งผลให้เกิดอาการตามัวและอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางตา เช่น ต้อหินได้ ซึ่งอันตรายอยู่ที่เส้นประสาทตาจะถูกทำลาย โดยความดันลูกตาเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด ซึ่งความดันลูกตาจะถูกควบคุมด้วยระบบไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา
หากภาวะสมดุลระหว่างการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงและการระบายน้ำออกจากลูกตาเสียไป จะทำให้ความดันลูกตาสูง เกิดภาวะต้อหิน ซึ่งในระยะแรกอาจไม่พบความผิดปกติใดๆ ต่อมาตาจะค่อยๆ มัวลง และยิ่งเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีเบาหวานขึ้นตาด้วยแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้จนมีภาวะต้อหินแทรกซ้อนก็จะตามัวมากขึ้น ปวดตา ตาแดง และอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยภาวะต้อหินจากเบาหวาน จะเริ่มจากวัดการมองเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ตรวจวัด ความดันลูกตา ซึ่งเป็นการตรวจที่สำคัญมากในการวินิจฉัยต้อหิน รวมถึงตรวจจอตาและขั้วประสาทตา ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการเป็นต้อหิน
จะว่าไปแล้ว การรักษาต้อหินจากเบาหวานไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา ฉายแสงเลเซอร์ หรือแม้กระทั่งการผ่าตัด มักไม่ค่อยได้ผลเป็นแค่เพียงบรรเทาอาการไม่สามารถแก้ไขให้สายตากลับมาเป็นปกติได้ แต่สามารถยับยั้งไม่ให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เบาหวานขึ้นจอตา โดยผู้ป่วยเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมค่าความดันลูกตาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รวมถึงรับการตรวจจอตาโดยจักษุแพทย์เป็นประจำทุกปี


ที่มา : บ้านเมือง โดย น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิตามินซี” สู้หวัดได้จริงหรือ?

เข้าสู่ฤดูฝนทีไร ก็มักจะเห็นคนจามฟึดฟัดกันอยู่บ่อยๆ บ้างก็เป็นแค่วัดธรรมดา ไอ จาม มีน้ำมูก บางคนก็ถึงขั้นเป็นไข้ ต้องล้มหมอนนอนเสื่อกันเลยทีเดียว
คราวนี้ก็ถือเวลาที่คนต้องหันมาดูแลสุขภาพกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหวัด จะได้ไม่ต้องมีผลกระทบกับการเรียนหรือการทำงาน ซึ่งหลายๆ คนก็เคยได้ยินกันมาบ้างว่า วิตามินซีสามารถรักษาโรคหวัดได้ แต่ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร “108 เคล็ดกิน” มีมาบอก
“วิตามินซี” สู้หวัดได้จริงหรือ? thaihealthข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุไว้ว่า “ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับวิตามินซีกันก่อน “วิตามินซี” หรือ กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) เป็นวิตามินชนิดละลายน้ำ วิตามินซีมีประโยชน์มากมาย เช่น ใช้รักษาและป้องกันโรคลักปิดลักเปิด และวิตามินซียังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือ antioxidant มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมและการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และมีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน แต่ประโยชน์ของวิตามินซีที่กล่าวถึงกันมากคือป้องกันหวัด
จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวันไม่สามารถป้องกันหวัดได้ และไม่มีผลลดความเสี่ยงในการเป็นหวัด ยกเว้นผู้ที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจำ จะสามารถลดความเสี่ยงในการเป็นหวัดได้ถึง 50% อย่างไรก็ตามพบว่าการรับประทานวิตามินซีเป็นประจำทุกวันจะสามารถช่วยลดความรุนแรงและระยะเวลาในการเป็นหวัดได้ ขนาดวิตามินซีที่แนะนำให้รับประทานเพื่อลดความรุนแรงและระยะเวลาในการเป็นหวัดคือ 1-3 กรัมต่อวัน และในผู้ที่ไม่เคยรับประทานวิตามินซีมาก่อน หากเป็นหวัดแล้วจึงเริ่มรับประทานวิตามินซี จะไม่สามารถช่วยลดความรุนแรงหรือระยะเวลาในการเป็นหวัดได้เลย”
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิตามินซีจะไม่ได้ช่วยรักษาหวัดได้โดยตรง แต่ก็ยังคงมีประโยชน์สำหรับร่างกายของคนเราอีกหลายอย่าง แต่เนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถสร้างวิตามินซีเองได้ ส่วนใหญ่เราจะได้รับวิตามินซีจากการกินผักและผลไม้ นอกจากนี้ก็ยังมีวิตามินซีในรูปแบบที่สกัดออกมาและวางขายในหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ดเคี้ยว แบบเม็ดฟู่ แบบเม็ดอม แบบเม็ดรับประทาน แบบแคปซูล
“วิตามินซี” สู้หวัดได้จริงหรือ? thaihealth
ส่วนผัก-ผลไม้ที่พบวิตามินซีได้ก็คือผักสดและผลไม้สดที่มีรสเปรี้ยวอย่างส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ สัปปะรด มะขามป้อม มะละกอ มะนาว สตอเบอรี่ ฯลฯ และในผักใบเขียวต่างๆ
ขอแถมอีกนิดสำหรับคนที่ติดหวัดไปแล้ว ขอแนะนำให้ดื่มน้ำขิงร้อนๆ เพราะรสเผ็ดร้อนและหอมแหลมๆ ของน้ำขิงนั้นมีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและตัวยาสมุนไพรอีกหลายชนิดที่สามารถทุเลาอาการหวัดลงได้ และขอให้ลดอาหารประเภทนมและน้ำตาลลง เพราะมันจะยิ่งทำให้เสมหะข้นขึ้นสร้างความรำคาญให้แก่ตนเอง แถมน้ำตาลยังจะไปลดปริมาณเม็ดเลือดขาวที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคให้น้อยลงอีกด้วย
แล้วอย่าลืมดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนเยอะๆ ก็เป็นอันว่าโรคหวัดจะไม่รุกรานร่างกายของเรามากไปกว่านี้แล้ว


ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

กินอาหารปรุงสุก เชื้อโรคไม่ถามหา

การปรุงอาหารให้สุกสะอาดเป็นการตัดวงจรการเกิดโรค ซึ่งคนส่วนมากมักจะละเลยและมองข้าม บางคนอาจโชคดีไม่เป็นอะไร แต่บางคนที่โชคร้ายก็ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย
กินอาหารปรุงสุก เชื้อโรคไม่ถามหา thaihealth
อาหารปรุงสุก
อาหารปรุงสุก คำว่า สุก หมายถึง หากเป็นอาหารประเภทแกงต้องเดือดอย่างน้อย 5 นาที ขณะที่ อาหารจำพวกปิ้ง ย่าง ก็ไม่ควรที่จะมีเนื้อแดง อาหารที่ปรุงสุกแล้วควรเก็บใส่ตู้เย็นภายใน 3 ชั่วโมง หากตั้ง วางเอาไว้เชื้อโรคจะมีการเพิ่มจำนวนหรืออาจสร้างสารพิษขึ้นมาในช่วงนั้นได้ การเก็บรักษาควรแยกเป็นภาชนะเล็กๆ จะช่วยให้เย็นเร็วยิ่งขึ้น การรับประทานก็ควรนำมาอุ่นก่อน ซึ่งการอุ่นอาหารควรทำให้เดือดไม่ใช่แค่ทำให้ร้อนเฉยๆ ส่วนพวกผัก ผลไม้ ควรล้างให้น้ำไหลเพื่อชะล้างเชื้อโรค
การปรุงอาหารให้สุกสะอาดเป็นการตัดวงจรการเกิดโรค ซึ่งคนส่วนมากมักจะละเลยและมองข้าม บางคนอาจโชคดีไม่เป็นอะไร แต่บางคนที่โชคร้ายก็ทำให้เกิดอาหารเจ็บป่วย โดยความรุนแรงของเชื้อขึ้น อยู่กับภูมิต้านทานของแต่ละคนและชนิดของเชื้อที่ได้รับเข้าไป
อันตรายในอาหารปรุงไม่สุก
อาหารที่ปรุงไม่สุก หากทิ้งไว้ข้างนอกนานๆ เชื้อโรคก็จะเจริญเติบโต นอกจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่มากับอาหารที่ปรุงไม่สุกแล้ว ยังมีพยาธิที่อาจติดมากับเนื้อสัตว์และผัก รวมทั้งการสัมผัสดินที่มีพยาธิ โดยไม่ล้างมือให้สะอาด ก็อาจทำให้ติดเข้าไปในร่างกายของเราได้ เช่น พยาธิกล้ามเนื้อ หากเข้าสู่ร่างกาย จะไปฝังตามกล้ามเนื้อในร่างกายของเรา พวกนี้ติดมากับพวกหมู กระรอก หนู กระแต เป็นต้น พยาธิตัวจี๊ด มักพบใน ปลา กุ้ง ปู ซึ่งกินไรน้ำเป็นอาหาร อาหารประเภทกุ้งสุกๆ ดิบๆ ปลาดุก ปลาช่อน ปลาไหล เขียด กบ ฯลฯ ที่ปรุงไม่สุกดีพอก็จะมีโอกาสที่พยาธิเข้าไปในร่างกายของเราได้ ส่วนพยาธิใบไม้ในตับนั้น พบทาง แถบภาคอีสานอยู่ในพวกหอยและปลาที่นำมาทำปลาร้า ปลาส้ม ปลาก้อย หากรับประทานโดยที่ยังไม่สุก พยาธิก็จะไปอยู่ที่ทางเดินน้ำดี เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งทางท่อน้ำดี มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งถึง ตอนนั้นอาจจะช้าเกินกว่าจะรักษาได้
หากเกิดอาการท้องเสีย อาเจียนต่อเนื่อง มีไข้ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ อาจมีเชื้อพวกแบคทีเรียหรือไวรัส หากเป็นพวกพยาธิส่วนใหญ่จะเข้าไปอยู่ในตัวจนกระทั่งแพร่กระจายจะรบกวนการ ทำงานของร่างกาย พยาธิตัวกลมมักจะเข้าไปอาศัยอยู่ในลำไส้ ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหาร เป็นโรคท้องเสียเรื้อรังได้
เราควรทำความเข้าใจในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องก่อนจะสายเกินแก้ไข เมื่อทราบถึงอันตรายการ บริโภคอาหารสุกๆ ดิบๆ แล้ว จึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น และไม่ว่าจะ เป็นอาหารประเภทใดก็ตาม การปรุงอาหารให้สุกและสะอาดล้วนแต่จะช่วยสร้างความปลอดภัยและส่งผลดี ต่อสุขภาพของคุณเอง


ที่มา : เว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ นายแพทย์ปริย พรรณเชษฐ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

รคปวดศีรษะจากความเครียด

โดย นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 28 ฉบับที่ 336 เมษายน 2550 หน้า 28-31


โรคปวดศีรษะจากความเครียด
เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ มักจะมีอาการปวดศีรษะต่อเนื่องนานเป็นวันๆ จนถึงเป็นสัปดาห์ หรือเป็นแรมเดือน โดยจะปวดพอรำคาญ หรือทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย และจะปวดอย่างคงที่ ไม่แรงขึ้นกว่าวันแรกๆ ที่ปวด จัดว่าเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่จะเป็นๆ หาย ๆ เรื้อรัง


ชื่อภาษาไทย โรคปวดศีรษะจากความเครียด โรคปวดศีรษะแบบตึงเครียด
ชื่อภาษาอังกฤษ Tension-type headache (TTH), Tension headache, Muscle contraction headache, Psychogenic headache
สาเหตุ
อาการปวดศีรษะของผู้ป่วยโรคนี้เป็นผลมาจากมีการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้าซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุและกลไกของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเกิดจากมีสิ่งเร้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทขึ้นตรงประสาทส่วนกลาง (อาจเป็นบางส่วนของไขสันหลัง หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ที่เลี้ยงบริเวณศีรษะและใบหน้า) แล้วส่งผลกลับมาที่กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าว รวมทั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี (เช่น เอนดอร์ฟินซีโรโทนิน) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
ส่วนใหญ่ มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความเครียด หิวข้าวหรือกินข้าวผิดเวลา อดนอน ตาล้าตาเพลีย(จากใช้สายตามากเกินไป)
นอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีโรควิตกกังวลซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ หรือการปรับตัว บางครั้งอาจพบร่วมกับโรคปวดศีรษะไมเกรน
อาการ
ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ต่อเนื่องกันนานครั้งละ 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะปวดนานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนอาจปวดนานติดต่อกันทุกวันเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นแรมเดือนโดยที่อาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้นจากวันแรกๆ ที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นการปวดตื้อๆ หนักๆ พอรำคาญหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ส่วนมากที่อาจปวดรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือตาพร่าตาลาย และไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย
อาการปวดศีรษะอาจเริ่มเป็นตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้าๆ บางคนอาจเริ่มปวดตอนบ่ายๆ เย็นๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมากหรือขณะหิวข้าว หรือมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ
การแยกโรค
อาการปวดศีรษะที่เป็นต่อเนื่องกันเป็นวันๆ ขึ้นไปควรแยกออกจากสาเหตุอื่น เช่น
1. ไมเกรน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตุบๆ ที่ขมับข้างเดียว (ส่วนน้อยเป็นพร้อมกัน 2 ข้าง) คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า นาน 4-72 ชั่วโมง มันจะเป็นๆ หายๆ ทุกครั้งที่มีอาการกำเริบ มักจะเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่น แสง เสียง กลิ่น อดนอน อดข้าว อากาศร้อนหรือเย็นจัด อาหารบางชนิด เหล้า ผงชูรส โดยมากจะเริ่มเป็นตั้งแต่วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาว บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะจากความเครียดร่วมด้วย
2. เนื้องอกสมอง
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดทั่วศีรษะ ปวดมากเวลาตื่นนอนตอนเช้า พอสายๆ ก็ทุเลาไป ไม่ปวดต่อเนื่องทั้งวันอาการดังกล่าว จะเป็นแรงขึ้นทุกวันจนผู้ป่วยต้องสะดุ้ง ตื่นตอนเช้ามืดเพราะรู้สึกปวด และจะปวดนานขึ้นทุกวันจนในที่สุดจะปวดตลอดเวลา ซึ่งกินยาแก้ปวดไม่ทุเลา ในระยะต่อมาอาจมีอาการอาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง ชัก ความจำเสื่อม บุคลิกภาพเปลี่ยนไปจากเดิม
3.โรคทางสมองอื่นๆ
เช่น เลือดออกในสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรงและอาเจียน ตั้งแต่วันแรกๆ ที่ปวด บางคนอาจมีไข้สูง ซึม ชัก ร่วมด้วย
4.ต้อหินชนิดเฉียบพลัน
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตาและศีรษะข้างเดียวอย่างรุนแรงและฉับพลันทันที ตาพร่ามัว แสบตาข้างที่ปวดจะมีสิ่งรบกวน ตาแดงๆ ตรงบริเวณตาขาว (รอบๆ ตาดำ) อาการปวดจะเป็นต่อเนื่องเป็นวันๆ ซึ่งกินยาแก้ปวดก็ไม่ทุเลา
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้จากลักษณะอาการ และประวัติเกี่ยวกับความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ การคร่ำเคร่งกับงาน
นอกจากมีอาการไม่ชัดเจนและสงสัยเป็นโรคเกี่ยวกับสมอง จึงจะส่งตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ผู้ป่วยและญาติจึงควรบอกเล่าประวัติ และอาการเจ็บป่วยอย่างละเอียด เช่น ปัญหาครอบครัว (สามีมีภรรยาน้อย เล่นการพนัน การทะเลาะกัน) ปัญหาการงาน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องและไม่หลงไปส่งตรวจพิเศษให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น


การดูแลตนเอง
เมื่อมีอาการปวดศีรษะเพียงเล็กน้อย ควรกินยาพาราเซตามอลบรรเทา 1-2 เม็ด นั่งพักนอนพัก ใช้นิ้วบีบนวด
ควรไปปรึกษาแพทย์ ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 
• มีอาการปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง 
• มีอาการปวดมากตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น หรือปวดแรงขึ้นและนานขึ้นทุกวัน 
• มีอาการเดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือชักกระตุก 
• มีอาการตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย 
• มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ 
• ดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น 
• มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะรักษาตนเอง 

การรักษา
แพทย์จะให้การรักษาโดยให้ยาบรรเทาปวดร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อหรือยากล่อมประสาท
ถ้าพบว่ามีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าร่วมด้วย ก็จะให้การรักษาภาวะเหล่านี้ไปพร้อมกัน และอาจให้การรักษาด้วยวิธีอื่นร่วมไปด้วย เช่น กายภาพบำบัด เทคนิคการผ่อนคลาย การทำจิตบำบัด การกระตุ้นประสาทด้วยไฟฟ้า การฝังเข็ม เป็นต้น
ในรายที่มีอาการกำเริบมากกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้งและแต่ละครั้งปวดนานมากกว่า 3-4 ชั่วโมง หรือปวดรุนแรง หรือต้องใช้ยาแก้ปวดบ่อยมาก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยกินยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน หรือฟลูออกซีทีนทุกวันติดต่อกันนาน 1-3 เดือน
ภาวะแทรกซ้อน
โรคนี้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้วิตกกังวล ไม่สุขสบาย และอาจสิ้นเปลืองเงินทองและเวลาในการแสวงหาบริการ ซึ่งผู้ป่วยและญาติมักคิดว่าเป็นโรคร้ายแรง จึงย้ายรงพยาบาลที่รักษาไปเรื่อยๆ
การดำเนินโรค
อาการปวดแต่ละครั้งจะเป็นนานเป็นชั่วโมงๆ จนเป็นสัปดาห์ หรือแรมเดือน เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะทุเลาไปได้ แต่เมื่อขาดการรักษา และมีสิ่งกระตุ้นก็อาจกำเริบได้อีก จึงมักจะเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย
การป้องกัน
ผู้ป่วยควรป้องกันไม่ให้กำเริบโดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่าปล่อยให้หิว อย่าคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า ออกกำลังเป็นประจำ หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ ถ้าจำเป็นควรกินยาป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ
ความชุก
โรคนี้พบได้บ่อย คือประมาณร้อยละ 80-90 ของผู้ที่ปวดศีรษะจะมีสาเหตุจากโรคนี้
พบได้ในคนทุกวัย เริ่มเป็นครั้งแรกตั้งแต่วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว (มีโอกาสน้อยมาก ที่จะมีอาการครั้งแรกหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว) และพบมีอาการกำเริบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี
พบว่าผู้หญิงเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายประมาณ 1.5-2 เท่า



*******************************************
ข้อมูลจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคแพนิก

โดย DMH Staff กรมสุขภาพจิต


โรคแพนิคเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียก โรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆแล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะท้องไส้ปั่นป่วนขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วยโดยที่ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตายกลัวเป็นโรคหัวใจบางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือ เป็นบ้าอาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลียและในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก



ซึ่งโรคนี้ นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ จาก http://www.ramamental.com ให้ความความกระจ่างว่า
อาการแพนิคจะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยากแต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุและเชื่อมโยงหาเหตุ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการเพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยงและรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่นผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถทำให้ไม่กล้าขับรถบางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้า ขึ้นสะพานลอยผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียวหรือไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการ ขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วยในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้เช่นการออกกำลังหนักๆหรือ เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้
ขณะเกิดอาการผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาลซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมาผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกันผู้ป่วยหลายๆ ราย ไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพโดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดและ ไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้ จนเป็นที่มาของการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินเป็นประจำ และใช้หมอเปลืองมาก (บางราย อาจจะมากกว่า 10 ด้วยซ้ำไป) อยู่ในภาวะที่เรียกว่าdoctor shopping ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเรียกว่าอาการแพนิคซึ่งแปลว่าตื่นตระหนกเราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่างๆจะคล้ายกับ อาการของคนที่กำลังตื่นตระหนกในโรคแพนิคผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุกระตุ้นและ เกิดแล้วเกิดอีกซ้ำๆการไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้นอาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานานบางคนเป็นมาหลายปีเกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้งแต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักทีบางคน เป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล"แทบไม่ทัน"ทุกครั้งแต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป"ทัน"ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย
สาเหตุ
สาเหตุของโรคจริงๆนี้นไม่ทราบ แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. ทางด้านร่างกาย 
1.1 ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าสาเหตุของโรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุม "ความกลัว (fear)" ซึ่งก็คือบริเวณโครงสร้างลึกๆในสมองที่เรียกว่า "อะมิกดาลา (Amygdala)" ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนที่เล็กมาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มีปฏิกิริยามากมายต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองสรุปไว้ว่า ภาวะความผิดปกติทางด้านวิตกกังวลทั้งหลายมีความสัมพันธ์กันกับอะมิกดาลาในสมองที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะความกลัว ความจำ (เจ็ดชั่วโคตร) ความวิตกกังวลมากมายที่ส่งผลต่อพฤติกรรม จึงทำให้มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมากมายเพื่อพัฒนาหาแนวทางในการรักษาให้เหมาะสม
ดังนั้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นจากภายนอกหรือภายในก็ตามที ทำให้มีผลเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดเป็นอย่างมาก ภาวะวิตกกังวลนี้ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจให้ตกอยู่ในภาวะการณ์ที่เรียกว่า "สู้หรือถอย (fight or flight) 
1.2 ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน ความเจ็บป่วยโรคทางกาย สารเสพติด และ กรรมพันธ์
2. สาเหตุทางจิตใจ เช่น การเผชิญความวิตกกังวลในชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง (severe stress) เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ถูกข่มขืน หย่าร้าง อกหัก ตกงาน หรือมีประวัติได้รับความกระทบเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
โรคแพนิกเป็นภาวะะวิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่ง ศ. นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ ได้กล่าวไว้ใน คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชว่า เป็นภาวะวิตกกังวลที่ผู้ป่วยจะจำได้แม่นยำถึงอาการ ความรุนแรงของอาการ สถานที่เกิดอาการ จนทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดหรือพยายามเลิกกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เช่น หากเป็นขณะขับรถ ก็จอดรถ หรือหากเป็นขณะซื้อของในห้างก็จะรีบออกจากห้าง เช่นนี้เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะเจาะจงของโรคแพนิก
1. อาการของโรคแพนิก ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผู่ป่วยมีความกลัว หรือรูสึกไม่สบายอย่างรุนแรง โดยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อาการ เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและรุนแรงที่สุดภายในเวลา 10 นาที
ใจสั่น 
หัวใจเต้นแรง
เหงื่อแตก ตัวสั่น
เวียนศรีษะ หรือเป็นลม
เจ็บหรือแน่นหน้าอก 
หนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบ
ชาหรือรู้สึกเป็นเหน็บ
หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ
คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
กลัว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้
กลัวว่าตนเองจะตาย
2. อาการของแพนิก เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ
3. ผู้ปวยมีความกังวลว่าตัวเองจะเกิดอาการแบบนี้ขึ้นมาอีกหรือไม่สบายใจเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการมีแพนิก หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมากที่สัมพันธ์กับการเกิดแพนิก
4. ความกังวลหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นนานอย่างน้อย 1 เดือน
การรักษา
ด้วยว่าโรคแพนิกนั้น จัดว่าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ (real illness) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีสื่อประสาทในสมอง ดังนั้น การรักษาที่จะได้ผลดี ประกอบไปด้วย
1. การรักษาด้วยยา
1.1 ยาแก้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็วใช้เมื่อเกิดอาการขึ้นมาเป็นทีกินทีกินแล้วหายเร็วได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกัน ในนามของยา"กล่อมประสาท"หรือยา"คลายกังวล"ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูงแต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆจะเกิดการติดยาและเลิกยาก
1.2 ยาป้องกันเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลเมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลยยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัวยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหายในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายยาทั้ง 2 กลุ่มในช่วงแรกๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆหยุดยา ผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีกแต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลงในกรณี แบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆ
2. การรักษาทางใจ ที่สำคัญและได้ผลมากคือ การให้ความรู้ Psychoeducation และการทำพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavior Therapy) เพื่อการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยต่อโรคแพนิกและอาการของแพนิค การฝึกการหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ การฝึกการจินตนาการ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก เหล่านี้เป็นต้น

*******************************************

เอกสารอ้างอิง: 
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับแพทย์ (ปรับปรุง 2544): กรงเทพ: เรดิชั่นจำกัด. กุมภาพันธ์ 2544.
http://www.helpguide.org/mental
http://www.nimh.nih.gov/publicat/panicfacts.cfm
http://www.psych.org/

http://www.ramamental.com
โรคแพนิก

โดย DMH Staff กรมสุขภาพจิต


โรคแพนิคเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่มีคนเป็นกันมากและเป็นกันมานานแล้ว แต่ประชาชนทั่วไปมักไม่ค่อยรู้จักและยังไม่มีชื่อโรคอย่างเป็นทางการในภาษาไทย บางคนอาจเรียก โรคนี้ว่า "หัวใจอ่อน" หรือ " ประสาทลงหัวใจ" แต่จริงๆแล้วโรคนี้ไม่มีปัญหาอะไรที่หัวใจและ ไม่มีอันตราย เวลามีอาการผู้ป่วย จะรู้สึกใจสั่นหัวใจเต้นแรง อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทันหรือหายไม่เต็มอิ่ม ขาสั่น มือสั่น มือเย็น บางคนจะมีอาการวิงเวียนหรือมึนศีรษะท้องไส้ปั่นป่วนขณะมีอาการผู้ป่วยมักจะรู้สึกกลัวด้วยโดยที่ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะกลัวว่าตัวเองกำลังจะตายกลัวเป็นโรคหัวใจบางคนกลัวว่าตนกำลังจะเสียสติหรือ เป็นบ้าอาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันทีและค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนเต็มที่ในเวลาประมาณ 10 นาที คงอยู่สักระยะหนึ่ง แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลียและในช่วงที่ไม่มีอาการผู้ป่วยมักจะกังวลกลัวว่าจะเป็นอีก



ซึ่งโรคนี้ นพ.สเปญ อุ่นอนงค์ จาก http://www.ramamental.com ให้ความความกระจ่างว่า
อาการแพนิคจะเกิดที่ไหนเมื่อไรก็ได้และคาดเดาได้ยากแต่ผู้ป่วยมักพยายามสังเกตุและเชื่อมโยงหาเหตุ ที่กระตุ้นให้เกิดอาการเพื่อที่ตนจะได้หลีกเลี่ยงและรู้สึกว่าสามารถควบคุมมันได้บ้าง เช่นผู้ป่วยบางราย ไปเกิดอาการขณะขับรถทำให้ไม่กล้าขับรถบางรายเกิดอาการขณะกำลังเดินข้ามสะพานลอยก็จะไม่กล้า ขึ้นสะพานลอยผู้ป่วยบางรายไม่กล้าไปไหนคนเดียวหรือไม่กล้าอยู่คนเดียวเพราะกลัวว่าถ้าเกิดอาการ ขึ้นมาอีกจะไม่มีใครช่วยในบางรายอาจมีเหตุกระตุ้นจริงๆบางอย่างได้เช่นการออกกำลังหนักๆหรือ เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนเช่น กาแฟ ชา น้ำโคล่า ในกรณีแบบนี้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆเหล่านี้
ขณะเกิดอาการผู้ป่วยมักกลัวและรีบไปโรงพยาบาลซึ่งแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมักตรวจไม่พบความผิดปกติ และมักได้รับการสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก ซึ่งผู้ป่วยก็มักยอมรับไม่ได้และปฏิเสธว่าไม่ได้เครียด เมื่อเกิดอาการอีกในครั้งต่อมาผู้ป่วยก็จะไปโรงพยาบาลอื่นและมักได้คำตอบแบบเดียวกันผู้ป่วยหลายๆ ราย ไปปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพโดยเฉพาะหัวใจซึ่งก็มักได้รับการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดและ ไม่พบความผิดปกติอะไรที่สามารถอธิบายอาการดังกล่าวได้ จนเป็นที่มาของการไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินเป็นประจำ และใช้หมอเปลืองมาก (บางราย อาจจะมากกว่า 10 ด้วยซ้ำไป) อยู่ในภาวะที่เรียกว่าdoctor shopping ซึ่งก็ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นไปอีก อาการต่างๆที่เกิดขึ้นเรียกว่าอาการแพนิคซึ่งแปลว่าตื่นตระหนกเราจะสังเกตุได้ว่าอาการต่างๆจะคล้ายกับ อาการของคนที่กำลังตื่นตระหนกในโรคแพนิคผู้ป่วยจะเกิดอาการแพนิคนี้ขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุกระตุ้นและ เกิดแล้วเกิดอีกซ้ำๆการไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นอะไรจะยิ่งเพิ่มความตื่นตระหนกให้รุนแรงขึ้นอาการแพนิค ไม่มีอันตราย อาการนี้ทำให้เกิดความไม่สบายเท่านั้นแต่ ไม่มีอันตราย สังเกตุได้จากการที่ผู้ป่วยมักจะ มีอาการมานานบางคนเป็นมาหลายปีเกิดอาการแพนิคมาเป็นร้อยครั้งแต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไรสักทีบางคน เป็นทีไรต้องรีบไปโรงพยาบาล"แทบไม่ทัน"ทุกครั้งแต่ไม่ว่ารถจะติดอย่างไรก็ไป"ทัน"ทุกครั้งเพราะอาการ แพนิค ไม่มีอันตราย
สาเหตุ
สาเหตุของโรคจริงๆนี้นไม่ทราบ แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัย ดังต่อไปนี้
1. ทางด้านร่างกาย 
1.1 ในปัจจุบันเราพอจะทราบว่าสาเหตุของโรคแพนิค มีปัญหาในการทำงานของสมองส่วนควบคุม "ความกลัว (fear)" ซึ่งก็คือบริเวณโครงสร้างลึกๆในสมองที่เรียกว่า "อะมิกดาลา (Amygdala)" ซึ่งสมองส่วนนี้เป็นส่วนที่เล็กมาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นทำให้มีปฏิกิริยามากมายต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีรายงานการศึกษาวิจัยในสัตว์ทดลองสรุปไว้ว่า ภาวะความผิดปกติทางด้านวิตกกังวลทั้งหลายมีความสัมพันธ์กันกับอะมิกดาลาในสมองที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกับร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะความกลัว ความจำ (เจ็ดชั่วโคตร) ความวิตกกังวลมากมายที่ส่งผลต่อพฤติกรรม จึงทำให้มีการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมากมายเพื่อพัฒนาหาแนวทางในการรักษาให้เหมาะสม
ดังนั้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นจากภายนอกหรือภายในก็ตามที ทำให้มีผลเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและความคิดเป็นอย่างมาก ภาวะวิตกกังวลนี้ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจให้ตกอยู่ในภาวะการณ์ที่เรียกว่า "สู้หรือถอย (fight or flight) 
1.2 ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน ความเจ็บป่วยโรคทางกาย สารเสพติด และ กรรมพันธ์
2. สาเหตุทางจิตใจ เช่น การเผชิญความวิตกกังวลในชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง (severe stress) เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ ถูกข่มขืน หย่าร้าง อกหัก ตกงาน หรือมีประวัติได้รับความกระทบเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง
โรคแพนิกเป็นภาวะะวิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่ง ศ. นพ.พิเชฐ อุดมรัตน์ ได้กล่าวไว้ใน คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชว่า เป็นภาวะวิตกกังวลที่ผู้ป่วยจะจำได้แม่นยำถึงอาการ ความรุนแรงของอาการ สถานที่เกิดอาการ จนทำให้ผู้ป่วยต้องหยุดหรือพยายามเลิกกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ เช่น หากเป็นขณะขับรถ ก็จอดรถ หรือหากเป็นขณะซื้อของในห้างก็จะรีบออกจากห้าง เช่นนี้เป็นต้น
ลักษณะเฉพาะเจาะจงของโรคแพนิก
1. อาการของโรคแพนิก ช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ผู่ป่วยมีความกลัว หรือรูสึกไม่สบายอย่างรุนแรง โดยมีอาการดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4 อาการ เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและรุนแรงที่สุดภายในเวลา 10 นาที
ใจสั่น 
หัวใจเต้นแรง
เหงื่อแตก ตัวสั่น
เวียนศรีษะ หรือเป็นลม
เจ็บหรือแน่นหน้าอก 
หนาวสั่น หรือร้อนวูบวาบ
ชาหรือรู้สึกเป็นเหน็บ
หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนมีก้อนจุกที่คอ
คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
กลัว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้
กลัวว่าตนเองจะตาย
2. อาการของแพนิก เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำๆ
3. ผู้ปวยมีความกังวลว่าตัวเองจะเกิดอาการแบบนี้ขึ้นมาอีกหรือไม่สบายใจเกี่ยวกับผลที่ตามมาจากการมีแพนิก หรือมีอาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างมากที่สัมพันธ์กับการเกิดแพนิก
4. ความกังวลหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปดังกล่าวจะต้องเกิดขึ้นนานอย่างน้อย 1 เดือน
การรักษา
ด้วยว่าโรคแพนิกนั้น จัดว่าเป็นการเจ็บป่วยจริงๆ (real illness) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีสื่อประสาทในสมอง ดังนั้น การรักษาที่จะได้ผลดี ประกอบไปด้วย
1. การรักษาด้วยยา
1.1 ยาแก้เป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็วใช้เมื่อเกิดอาการขึ้นมาเป็นทีกินทีกินแล้วหายเร็วได้แก่ยาที่คนทั่วไปรู้จักกัน ในนามของยา"กล่อมประสาท"หรือยา"คลายกังวล"ยาประเภทนี้มีความปลอดภัยสูงแต่ถ้ารับประทาน ติดต่อกันนานๆจะเกิดการติดยาและเลิกยาก
1.2 ยาป้องกันเป็นยาที่ออกฤทธิ์ช้าปรับยาครั้งหนึ่งต้องรอ 2-3 สัปดาห์จึงจะเห็นผลเมื่อยาออกฤทธิ์เต็มที่ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแพนิคเกิดขึ้นเลยยากลุ่มนี้จะเป็นยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าบางตัวยากลุ่มนี้ไม่ทำให้ เกิดการติดยาและสามารถหยุดยาได้เมื่อโรคหายในการรักษาด้วยยาเราจะจ่ายยาทั้ง 2 กลุ่มในช่วงแรกๆ ยาป้องกันยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่ผู้ป่วยจะยังมีอาการจึงยังต้องใช้ยาแก้อยู่ เมื่อยาป้องกันเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยจะกินยาแก้น้อยลงเอง แพทย์จะค่อยๆเพิ่มยาป้องกันจนผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย แล้วให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไปเป็นเวลา 8-12 เดือน หลังจากนั้นจะให้ผู้ป่วยค่อยๆหยุดยา ผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้โดยไม่มีอาการกลับมาอีกแต่ก็มีบางรายที่มีอาการอีกเมื่อลดยาลงในกรณี แบบนี้เราจะเพิ่มยากลับขึ้นไปใหม่แล้วค่อยๆลดยาลงช้าๆ
2. การรักษาทางใจ ที่สำคัญและได้ผลมากคือ การให้ความรู้ Psychoeducation และการทำพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavior Therapy) เพื่อการปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยต่อโรคแพนิกและอาการของแพนิค การฝึกการหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ การฝึกการจินตนาการ การฝึกสมาธิ การฝึกคิดในทางบวก เหล่านี้เป็นต้น

*******************************************

เอกสารอ้างอิง: 
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับแพทย์ (ปรับปรุง 2544): กรงเทพ: เรดิชั่นจำกัด. กุมภาพันธ์ 2544.
http://www.helpguide.org/mental
http://www.nimh.nih.gov/publicat/panicfacts.cfm
http://www.psych.org/

http://www.ramamental.com

วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

ทคนิคบรรเทาอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์

โดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข


ผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีแอลกอฮอล์ผสม (เช่น ในรูปแบบน้ำผลไม้ที่วางขายกันเต็มท้องตลาด ห้างสรรพสิ้น ร้านสะดวกซื้อ) ทั้งหลายนั้น นอกจากปัญหาทางด้านร่างกายอย่างรุนแรง ซึ่งก็คือ ผลต่อตับ ต่อหัวใจ อันตรายที่หลายคนอาจจะไม่นึกถึงก็คือผลต่อโรคทางจิตประสาท ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมากมายมหาศาลได้เช่นกัน 
นอกจากปัญหาที่กล่าวมาแล้ว ปัญหาที่มักจะเกิดกับผู้ดื่มเครื่องดื่มดังกล่าวที่ถือว่ายังไม่เข้าขั้นรุนแรงก็คือการ เมาค้าง บทความที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นความรู้เบื้องต้นสำหรับผู้ประสบปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้สามารถบรรเทาจากการเมาค้างได้ก่อนที่จะไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อการบำบัดรักษา



เทคนิคการบรรเทาอาการเมาค้าง
ก่อนที่จะแก้ไขอาการเมาค้าง เรามาติดตามกระบวนการแผลงฤทธิ์เดชของแอลกอฮอล์ในร่างกายไว้เป็นความรู้กันก่อน ซึ่งแบ่งเป็นปฏิกิริยาได้ดังนี้
ปฏิกิริยาแรก
จะเกิดขึ้นทันทีที่ดื่มเหล้าแล้วแอลกอฮอล์เข้าสู่ตับเอนไซม์ในตัวคนเราจะเปลี่ยนแอลกอฮอล์เป็นสารตัวใหม่ ชื่ออะเซ็ตทัลดีไฮด์ แล้วเปลี่ยนต่อเป็น อะซิเทต แล้วเคลื่อนตัวไปยังสมองของต่อมควบคุมระดับเกลือและน้ำตาลในร่างกาย รวมไปถึงอวัยวะต่างๆ อีกมากมายหลายส่วน ผลจากการเคลื่อนตัวไปยังส่วนต่างๆ นี่เองทำให้ร่างกายสำแดงอาการเริ่มตั้งแต่อาการสมองโปร่งโล่งสบายในระยะแรก แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นความรู้สึกกับถูกบีบหนักๆ ร่างกายเริ่มผิดเพี้ยน เคลื่อนไหวโซซัดโซเซ ลิ้นก็ชักจะแข็งๆ พูดจาอ้อแอ้ หูอื้อ ตาลายและแดงกล่ำไปด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์ บางคนถึงขนาดความจำเสื่อมไปชั่วขณะ ถ้าดื่มต่อไปอย่างยั้งไม่หยุดก็จะตามมาติดๆ ด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน และเกิดปฏิกิริยาผิดเพี้ยนอื่นๆ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน
ปฏิกิริยาต่อมา
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากปฏิกิริยาแรก ส่งผลให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ปกติเซลล์สมองจะมีกลไกป้องกันตัวเอง โดยการเปลี่ยนแปลงผนังเซลล์ให้หนามากพอ ที่จะไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำลาย ดังนั้นเมื่อแอลกอฮอล์เดินทางมาสู่สมองเซลล์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนเกิดผลของการแฮ้งก์โอเวอร์หรืออาการเมาค้างตามมาในที่สุด
ปฏิกิริยาสุดท้าย
เป็นกระบวนการแห้งเหือดของน้ำหรือของเหลวภายในร่างกายเพราะแอลกอฮอล์เป็นสารที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยของเหลวในร่างกาย โดยดูดซึมและขับถ่ายในรูปปัสสาวะและยังขับสารอาหารสำคัญๆ ออกมาอีกด้วย ในร่างกายเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในปริมาณต่ำสุด เช่น แมกนีเซียม โปตัสเซียม รวมไปถึงวิตามินต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 วิตามินซี เป็นต้น
ด้วยปฏิกิริยาดังกล่าว จึงมักพบอาการที่มักได้ยินผู้ดื่มพูดๆ กัน ว่าในหัวจะเหมือนมีใครอาค้อนมากระหน่ำ ปวดหนึบๆ บางคนปวดจี๊ดๆ ต่อเนื่องหรือบางคนปวดตลอดเป็นระยะยาวๆ แล้วยิ่งถ้าขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย แม้แต่เพียงน้อยนิด ก็จะยิ่งปวดหัวหนักเข้าไปอีก ท้องไส้จะเบาโหวง คลื่นเหียนเหมือนเพิ่งลงจากรถไฟเหาะตีลังกามาสักสิบรอบ นอกจากนี้เจ้าตัวยังพบกับความยากลำบากในการลืมตา โดยเฉพาะถ้ามีลำแสงสาดส่องเข้ามากระทบดวงตาอันฉ่ำไปด้วยฤทธิ์แอลกอฮอล์แล้วละก็จะยิ่งทวีความปวดร้าวในหัวเหมือนหัวจะระเบิดเป็นเสี่ยงๆ อย่างไงอย่างงั้น แถมอาการเมาค้างยังทำให้ระบบประสาทสัมผัสปั่นป่วนตามไปด้วย กล่าวคือเสียงที่เคยกระทบโสตประสาทว่าไพเราะนักหนากลับกลายเป็นเสียงที่น่ารำคาญไปเสียนี่ จะกินจะลิ้มชิมของอร่อยสักเพียงใดก็เหมือนลิ้นคนกลายเป็นจระเข้ คือ ไม่รู้รสอะไรเลย แล้วริมฝีปากก็จะแห้ง เหมือนอยู่ท่ามกลางทะเลทรายในบ้าน อาการเพี้ยนๆ ที่เกิดขึ้นอีกก็คือ สภาพความปั่นป่วนในหัวอก หัวใจเต้นไม่เป็นส่ำตามมาด้วยการเสียสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวจะลุกจะนั่ง จะเดิน ก็แข็งทื่อ ไม่รวดเร็วคล่องแคล่วเหมือนใจนึก แถมท้ายด้วยการอาเจียนขนานใหญ่ ตามมาติดๆ ด้วยอาการผะอืดผะอม คืออาเจียนก็ไม่อาเจียน แล้วก็เป็นอยู่อย่างนี้นานทั้งวัน จะว่าไปแล้วอาการเมาค้างที่เกิดขึ้นนี้ช่างเป็นอาการที่ยืดความทรมานออกไปไม่จบสินสักที
ข้อมูลทั่วไป
อาการเมาค้าง เป็นภาวะหรืออาการที่คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ การที่ร่างกายขาดน้ำ เป็นผลที่เกิดหลังจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินร่างกายจะสามารถรับได้ ส่งผลให้เสียสมดุลของฮอร์โมน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท และสารทางชีวภาพอื่นๆ ในร่างกาย
อาการเมาค้างโดยทั่วไป ได้แก่ ปวดหัว มึนหัว เวียนศีรษะ คอแห้ง ผิวหน้าแห้ง ริมฝีปากแห้ง หน้าบวม ตาบวมผื่นแดง รอยแดง หน้าซีดเซียว คลื่นเหียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ หรือท้องร่วง ถ่ายเหลว รับประทานอาหารไม่ได้ เบื่ออาหาร นอนไม่ได้ สะลึมสะลือ กระเพาะอาหารเกิดการระคายเคือง มือสั่น ใจสั่น เหนื่อย เหงื่อออก หรืออ่อนเพลีย หมดแรงลุกไม่ขึ้น ตัวเย็น กล้ามเนื้อเกร็ง (ตะคริว) ความดันโลหิตลดลง และรู้สึกไม่สบาย สะดุ้ง ตกใจง่าย
นอกเหนือจากอาการที่มองเห็นทางร่างกายแล้ว
อาการเมาค้างยังมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น คนที่เป็นโรคหัวใจจึงมีอัตราการเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการเมาค้างง่ายกว่าคนปกติด้วย เป็นการเพิ่มการทำงานของหัวใจ ปรากฏการณ์นี้มีผลต่อการตายจากโรคหัวใจ อาการเมาค้างยังส่งผลเสียต่อประสาท โดยทำให้การแพร่ของคลื่นสมองช้ากว่าปกติเป็นเวลาหลายชั่วโมง หลังจากร่างกายขจัดแอลกอฮอล์ออกไปแล้ว และการทำงานของกล้ามเนื้อร่วมประสาทบกพร่องเป็นเวลานาน แม้ว่าจะไม่ปรากฏแอลกอฮอล์ในเลือดแล้วก็ตาม อาการเมาค้างยังทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และขาดสารอาหาร
อาการเมาค้างยังเกิดจากหลายปัจจัย และอาการที่เกิดขึ้นไม่ได้สัมพันธ์กับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มแต่เพียงอย่างเดียวปัจจัยเสริมอื่นๆ อยู่อีก คือ กระเพาะอาหารว่างก่อนดื่ม อดนอนมาก่อนหรือนอนหลับไม่เพียงพอ มีความเครียดเป็นทุนเดิม ปัจจัยทางด้านสังคมจิตวิทยา การเพิ่มการการเคลื่อนไหวร่างกายขณะดื่ม หรืออยู่ในภาวะขาดน้ำ เป็นต้น และยังขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มในช่วงเวลาหนึ่งๆ ต่อน้ำหนักของคนดื่ม พูดง่ายๆ ว่าน้ำหนักน้อย มีสิทธิ์ไปไว สุดท้ายเป็นเรื่องอายุ ยิ่งแก่ยิ่งเมาค้างได้ง่าย
วิธีบำบัดฟื้นฟูสภาพ และเทคนิควิธีการดูแลบรรเทาอาการเมาค้างเบื้องต้น
• เช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำเย็นและประคบด้วยผ้าเย็นบริเวณใบหน้าและศีรษะ
• ดื่มน้ำเปล่ามากๆ ทั้งวัน เพื่อให้ความเป็นพิษหมดไปโดยเร็ว
• ดื่มน้ำหวาน เช่น น้ำส้ม (น้ำอัดลม) เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำหวานต่างๆ เพื่อชดเชยเกลือแร่ที่สูญเสียไป และช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น
• ดื่มน้ำผลไม้คั้นที่มีรสเปรี้ยวจัด แก้ไขการอาเจียน เช่น น้ำส้ม หรือน้ำมะนาว
• ดื่มน้ำผลไม้สดๆ หรือผลไม้สดแช่เย็นฉ่ำ ช่วยล้างพาและแก้อาการ เพื่อชดเชยวิตามินซี เพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด ชดเชยพลังงานที่ร่างกายต้องการ อันจะทำให้ร่างกายสดชื่น (ควรใช้เครื่องคั้นน้ำผลไม้แยกกากยกเว้นบางชนิดที่ควรใช้เครื่องปั่น)



น้ำแตงโมแช่เย็นเจี๊ยบ
นอกจากนี้อาจผสมสตรอเบอรี่ด้วยก็ได้ ซึ่งเป็นผลไม้หนึ่งเข้ากันได้ดีกับแตงโม เพราะให้รสชาติหลากหลาย อาจสลับใช้ฮันนี่ดิวผสมแบล็คเบอรี่ บ้างก็ได้ ใช้แตงโมขนาด 1 นิ้ว 1 ชิ้น สตรอเบอรี่เด็ดก้านออกแล้ว 6 ผล ถ้าให้ชื่นใจยิ่งขึ้น ควรแช่เย็นผลไม้ก่อนนำมาคั้น
น้ำแครอทผสมแอปเปิ้ล
ดูจะเป็นน้ำผักผลไม้หลักๆ ที่ดีที่สุด และเหมาะจะเป็นเครื่องดื่มแก้วแรก สำหรับผู้ที่เริ่มทดลอง เริ่มด้วยการผสมน้ำคั้นทั้งสองอย่างนี้ในปริมาณเท่าๆ กัน และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนสัดส่วนตามที่คุณชอบ ใช้แครอท 4 หัว แอปเปิ้ล 1 ลุก
น้ำจับฉ่าย
น้ำผักผลไม้ชนิดนี้จะมีรสดียิ่งขึ้นถ้าเหยาะซอสพริก 2-3 หยด หรือเพิ่มกระเทียมสักกลีบ หรือพริกสดก็จะได้รสชาติแปลกออกไป
ใช้มะเขือเทศสุก 2 ลูก แครอท 2 ลูก บีทรูท ½ หัว เชเลอรี่ 1 ต้น แตงกวา 1 ลูก
น้ำวุ้นจากใบว่านหางจระเข้
น้ำสมุนไพรนี้ช่วยให้ตับสามารถทำงานได้เป็นปกติเร็วขึ้น ช่วยสลายพิษได้


• สูดกลิ่นหอม โดยใช้นำมันหอมระเหย ด้วยวิธีดังนี้


สูดกลิ่นจากเตาระเหย (มิลลิลิตร) เฟนเนล 2 หยด, ลาเวนเดอร์ 1 หยด, น้ำมันจันทน์ 2 หยด, เลมอน 4 หยด
นวดตัว (ผสมน้ำมันนวด 50 หรือแช่ในอ่างอาบน้ำ) เฟนเนล 5 หยด, ลาเวนเดอร์ 3 หยด, น้ำมันจันทน์ 5 หยด, เลมอน 10 หยด
ประคบน้ำร้อน หรือประคบน้ำเย็น เฟนเนล 1 หยด, จูนิเปอร์ 2 หยด, โรสแมรี่ 1 หยด

• ดื่มนมอุ่นๆ ทีเดียวให้หมดแก้ว แต่ไม่ควรดื่มมากอาจจะอาเจียนหนักขึ้นได้
• ค่อยจิบเครื่องดื่มร้อนๆ เช่น น้ำชา ชามะนาว ส่วนกาแฟอย่าดื่ม ขณะเมาค้าง เนื่องมาจากกาแฟมีคาเฟอีน เมื่อดื่มเข้าไปจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น
• อย่าปล่อยให้ท้องว่าง พยายามรับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ก๋วยเตี๋ยว ไม่ควรกินอาหารที่มีไขมัน หรือมีรสจัดมากเกินไป เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการอาเจียนมากขึ้น
• ไม่ควรนอนจมอยู่บนเตียงทั้งวัน ควรจะลุกขึ้นมา สูดอากาศบริสุทธิ์ เพราะออกซิเจนจะช่วยให้เกิดกระบวนการเมตะบอลิซึมมากขึ้น ทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดลดลงจนรู้สึกสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า มากขึ้น
• ถ้าไม่ดีขึ้น แน่นอนต้องพึ่งพายาหอมผสมน้ำอุ่น ยาดม หรือยาธาตุ และยาสมุนไพรขมิ้นชัน ซึ่งจะทำให้ระบบย่อยอาหารมีสภาพเป้นกลาง หรือเป็นปกติมีความสมดุลขึ้น
• ควรนอนหลับ นอนพักผ่อนให้ได้อีกสักระยะหนึ่ง ก่อนไปทำงานประเภทขับรถหรือทำงานเครื่องจักรกล
• หากปวดศีรษะมาก รับประทานยาบรรเทาอาการ คือ แอสไพริน ควรกินยานี้ตอนเช้า ห้ากินก่อนเข้านอน หรือเวลาที่แอลกอฮอล์ยังสะสมอยู่ในร่างกายมาก หรือ หากคลื่นไส้อาเจียนก็ต้องใช้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนและข้อควรระวังคือ ไม่ควรรับประทานพาราเซมอล เพราะทั้งแอลกอฮอล์และพาราเซตามอลมีอันตรายต่อตับ
ข้อควรระวัง หรือลักษณะอาการที่ควรพบแพทย์
หากมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียนมาก ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ความดันโลหิตลดลง ห้องร่วงรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และอ่อนเพลีย เมาค้างเป็นนานกว่า 1 วัน ให้รีบไปพบแพทย์
วิธีป้องกันอาการ “เมาค้าง”
ก่อนดื่ม
• ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง เพราะอาหารในกระเพาะ จะช่วยป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป เตรียมตัวให้พร้อมด้วยการกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม หมูทอด เค้ก ขนมหวาน เนย หรืออื่นๆ จะได้ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ไม่ให้แอลกอฮอล์ซึมผ่านสู่อวัยวะต่างๆ ได้เร็วนักแล้วก็จงตบท้ายด้วยอาหารประเภทโปรตีน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อปลา ไก่ ไข่ นม ถั่ว เป็นต้น
• ควรรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSIDS หรือไอบูโพรเฟนก่อนเมแอลกอฮอล์ เพราะยาจะมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์prostaglandin ที่ทำให้เกิดอาการปวด แต่ไม่ควรรับประทานพาราเซตามอลโดยไม่จำเป็นขณะดื่ม หรือก่อนนอนหลังจากดื่ม เพราะทั้งแอลกอฮอล์และพาราเซตามอลมีอันตรายต่อตับ เมื่อรับประทานพร้อมกันจะอันตรายมากขึ้น
• ปัจจุบันนี้มีเครื่องดื่มป้องกันอาการเมาค้างที่ดื่มก่อนไปดื่มแอลกอฮอล์ด้วยก็พอจะช่วยได้ มักขายตามร้านสะดวกซื้อ
ระหว่างขณะดื่ม
• ควรทานอาหาร/กับแกล้มของขบเคี้ยวสลับกับการดื่มแอลกอฮอล์ จะช่วยชะลอการเมาได้มาก แต่ก็ควรดื่มให้น้อยด้วย
• เลี่ยงอาหารประเภทไขมัน ขณะดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้อาเจียนได้ง่าย
• หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชนิดที่ผสมเข้าด้วยกัน
• เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำตามด้วย เพื่อจะได้จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์เข้าสู่เส้นเลือด และป้องกันอาการร่างกายขาดน้ำ
• การป้องกันในระหว่างดื่ม ถ้ามีโอกาสได้ถือเหล้าติดมือไปฝากในวงเหล้า ถือว่าท่านเป็นผู้ควบคุมสถานการณ์ในการดื่มได้ ดังนั้นควรเลือกเหล้าชนิดที่มีดีกรีอ่อนหน่อย จะได้ช่วยให้กระบวนการเมตาบอลิซึมทำงานเผาผลาญแอลกอฮอล์ได้ดี แล้วยิ่งถ้าได้ดื่มเหล้าที่แช่เย็นเจี๊ยบแบบที่เพิ่งออกมาจากช่องฟรีซในตู้เย็นได้ นอกจากจะทำให้ดื่มได้ไม่บาดคอแล้วยังช่วยให้ดื่มได้นานโดยไม่เมาเร็วเกินไปด้วย
หลังดื่ม
• ก่อนกลับบ้านถ้าเมาต้องไม่ขับรถ ควรจะดื่มน้ำส้ม เพราะวิตามินซีจะช่วยเร่งการเผาผลาญอาหาร หรือจะดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่พวกนักกีฬาดื่มกันก็ไม่เลว
• ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนเข้านอนด้วย เพื่อช่วยให้การขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย และลดการกระตุ้นให้ร่างกายดึงน้ำจากสมองมาใช้มีผลให้สมองเกิดการหดตัว
• ควรดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่ก่อนเข้านอน เนื่องจากแอลกอฮอล์เข้าไปแทนที่น้ำตาลในตับระดับน้ำตาลในร่างกายจึงลดลง ทำให้คุณเกิดอาการเวียนศีรษะและอ่อนเพลีย
คำแนะนำทั่วไป
• หลีกเลี่ยงการผสมเครื่องดื่มต่างชนิดเข้าด้วยกัน
• หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง อาหารในกระเพาะจะช่วยป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตเร็วเกินไป การกินอาหารยิ่งมากระหว่างดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งลดผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อระบบร่างกาย
• ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนนอน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
• ไม่ควรดื่มกาแฟเพื่อบรรเทาอาการเมาค้าง เพราะกาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะจะยิ่งทำให้การเสียดุลของของเหลวในร่างกายแย่ลง
• อย่าขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล เมื่อมีอาการเมาค้าง
• รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย มีคุณค่าทางโภชนาการและหลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน
• เดี๋ยวนี้ก็มีเครื่องดื่มบรรเทาอาการเมาค้างที่ดื่มหลังจากไปดื่มแอลกอฮอล์มาก ซึ่งก็พอจะช่วยได้มักขายตามร้านสะดวกซื้อ
สูตรลับดับอาการเมาค้าง
มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาช้านานแล้ว ซึ่งเป็นสูตรที่ชาวต่างประเทศเชื่อกันว่าน่าจะได้ผลดี จะขอยกตัวอย่างสูตรเหล่านั้นพอเป็นสังเขป ดังนี้
• สูตรดื่มน้ำส้มเย็นเชี้ยบที่แช่ค้างคืน โดยผสมกับไข่ดิบเข้าด้วยกัน
• สูตรจิบน้ำมันดอกคำฝอยผสมน้ำมันงา
• สูตรจิบน้ำมันขิง ผสมโซดา น้ำ น้ำมะนาวหรือน้ำส้ม
• สูตรกินแอสไพริน 2 เม็ด ในตอนเช้าและดื่มน้ำตามมากๆ 
• สูตรกินปลาทูน่าที่ผสมน้ำมะนาว มะเขือเทศ กระเทียม พริก แตงกวา
• สูตรกินซุปไก่ผสมหอมใหญ่ แครอต แป้งข้าวโพด เกลือ กระเทียม
• สูตรกินน้ำกะหล่ำปลีดอง ผสมน้ำมันมะกอกเข้าด้วยกัน
• สูตรฝานมะนาวเป็นแว่นแล้วนำมาถูรักแร้
• สูตรทิ่มเข็มบนจุกก๊อกตามจำนวนดริ๊งที่ดื่ม(ยิ่งแปลกกว่าดื่ม) แต่ควรระวังอาจจะหยิบเข็มผิดๆ ถูกๆ หรือหยิบเข็มได้ก็อาจจะจิ้มพลาดไปถูกเพื่อนข้างๆ เข้า
• สูตรอบไอน้ำ แต่จะต้องไปตรวจสุขภาพก่อนว่าเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่ หรือมีโรคภัยไข้เจ็บอะไร มิฉะนั้นแทนที่จะหายเมาค้าง ท่านอาจะจะพับดับชีพได้เหมือนกัน
• สูตรใช้เปลือกของต้นควินินซึ่งขมปี๋จะช่วยรักษาการเมาค้างได้ นอกจากควินินแล้วพืชที่มีรสขมอื่นๆ ก็มักจะมีคุณสมบัตินี้เช่นกัน เช่น dandelion, gentian, mugwort และ angostura สำหรับ angostura นั้น มีทำเป็นน้ำยาขมเอาไว้ผสมเหล้า เรียกว่า Angostura Bitters เมื่อเกิดเมาค้าง จงเอา Angostura Bitters 2-3 หยดใส่ในน้ำร้อน เติม roselle และมะขามเพื่อปรุงรส ดื่มน้ำชานี้เยอะๆ จะช่วยแก้การเมาค้างได้
• สูตรทานแปะก๊วย นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นเป็นผู้พบว่าเมล็ดแปะก๊วยมีเอนไซม์ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายขจัด แอลกอฮอล์ได้เร็วขึ้น การกินเมล็ดแปะก๊วยจึงช่วยรักษาอาการเมาค้างได้ ในญี่ปุ่นมักจะเสิร์ฟเมล็ดแปะก๊วยในเวลามีปาร์ตี้โดยเชื่อกันว่าจะป้องกันการเมาและเมาค้าง


*******************************************


เอกสารอ้างอิง: จากหนังสือคู่มือการให้การปรึกษาสำหรับผู้ประสบปัญหาแอลกอฮอล์ หน้า 86-91. โดย กรมสุขภาพจิต