วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563
เยี่ยมด่านบูรณาการเพื่อบริการประชาชน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564
วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ถ่ายภาพจอประสาทตาผู้ป่วยเบาหวาน
วันที่ 28 ธันวาคม 2563
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรี ร่วมกับโรงพยาบาลเพ็ญ ได้ให้บริการตรวจและถ่ายภาพจอประสาทตาให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเพ็ญ มีผู้รับบริการจำนวน 218 คน
วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2563
ประชุมประจำเดือน อสม. ชี้แจงแนวทางป้องกัน ควบคุมโรค COVID-19
วันที่ 25 ธันวาคม 2563
ติดตามเยี่ยมคัดกรอง ประชาชนที่เดินทางมาจากจังหวัดกลุ่มเสี่ยง
วันที่ 24 ธันวาคม 2563
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรี ทำการออกสำรวจประชาชนที่เดินทางมาจากจังหวัดสมุทรสาคร 1 ราย คัดกรองกำลังพลจำนวน 20 นาย ที่มาจากพื้นที่ตำบลโนนสูง และนายจ้างที่มีลูกมีลูกจ้างแรงงานต่างด้าว จำนวน 1 คน ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563
สำรวจห้องแช่เย็น/ตู้แช่เย็น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19
วันที่ 22 ธันวาคม 2564
เจ้าหน้าที่ รพ.สต.จอมศรี ลงพื้นที่สำรวจห้องเย็นและตู้แช่เย็นในพื้นที่ที่จำหน่ายอาหารทะเล ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับอาหารทะเล ทั้งผู้ประกอบการและผู้ขนส่งอาหารทะเล จากพื้นที่ที่พบการระบาดของโรค COVID - 19 ในจังหวัดสมุทรสาคร ในพื้นที่ตำบลจอมศรี โดยเบื้องต้นพบ มีผู้ประกอบการ จำนวน 1 ร้าน โดยเพื่อติดตาม แนะนำ กำกับการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการระบาดโรค COVID - 19 ได้เน้นย้ำและขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการหรือลูกจ้างในร้าน ให้ปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และหากพบอาการเจ็บป่วยเข้าข่ายให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคในชุมชนตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานีต่อไป
_________________________
วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563
คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2563
รณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก
วันที่ 14 ธันวาคม 2563
นางวาสนา ผิวเหลือง ผู้อำนวยการ รพ.สต.จอมศรี ได้มอบหมายให้ นายกิตติพงษ์ เกษมสุข นายคมกฤษ ฟองอ่อน และนางพัชรี ทองสระโคม นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ ร่วมกับผู้นำชุมชน จิตอาสา อสม. และประชาชนในพื้นที่ ลงพื้นที่บ้านข่า ม.6 ต.จอมศรี ร่วมกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกประจำสัปดาห์ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามมาตรการ 5 ป 1 ข 3 เก็บ 3 โรค มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน
_________________________
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563
คัดกรองโควิด - 19 งานทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี
วันที่ 8 ธันวาคม 2563
คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอมศรีได้รับมอบหมายจาก นายสุพัฒน์ กองศรีมา สาธารณสุขอำเภอเพ็ญ ให้เข้าร่วมปฏิบัติงานการคัดกรองเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด - 19 โดยคัดกรองประชาชนก่อนเข้างาน ซึ่งทุกคนที่มาเที่ยวงานประจำปีทุ่งศรีเมืองอุดรธานีปีนี้ ประชาชนที่เข้าร่วมงานต้องไม่มีไข้และสวมหน้ากากอนามัย 100 เปอร์เซ็นต์
_________________________
วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2563
วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ลงพื้นตรวจตลาดนัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ตำบลจอมศรี อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ควบคุมโรคไข้เลือดออกหมู่ 9 บ้านโนนดู่ ต.จอมศรี อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี
โรคไข้เลือดออก
- โรคไข้เลือดออกเดงกี เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 30 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 100 ประเทศที่โรคนี้กลายเป็นโรคประจำถิ่น และโรคนี้ยังคุกคามต่อสุขภาพของประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 40 (2,500 ล้านคน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น
- เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งเป็น single - strand RNA จัดอยู่ใน genus Flavivirus และ family Flaviviridae มี 4 serotypes คือ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 ทั้ง 4 serotypes มี antigen ร่วมบางชนิด จึงทำให้มี cross reaction และ cross protection ได้ในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเดงกีชนิดหนึ่งจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีชนิดนั้นตลอดไป (long lasting homotypic immunity) และจะมีภูมิคุ้มกัน cross protection ต่อชนิดอื่น (heterotypic immunity) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 6-12 เดือน ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีไวรัสเดงกีชุกชุมอาจมีการติดเชื้อ 3 หรือ 4 ครั้งได้
- โรคไข้เลือดออกเดงกีติดต่อกันได้โดยมียุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นแมลงนำโรคที่สำคัญ และในชนบทบางพื้นที่ จะมียุงลายสวน (Aedes albopictus) เป็นแมลงนำโรคร่วมกับยุงลายบ้าน เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย พร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นป่วยได้
- ระยะเพิ่มจำนวนของไวรัสเดงกี ในยุง ประมาณ 8-10 วัน
- ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกี ในคน ประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน
- โรคไข้เลือดออกเดงกีไม่ติดต่อจากคนสู่คน ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นแมลงนำโรค การติดต่อจึงต้องใช้เวลาในผู้ป่วยและในยุง ระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงประมาณวันที่ 2-4 จะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก ระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อจากคนสู่ยุง และระยะเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสในยุงจนมากพออีกประมาณ 8-10 วัน จึงจะเป็นระยะติดต่อจากยุงสู่คน